วันพฤหัสบดีที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2559

กระบวนงานผลิตสิ่งพิมพ์ด้วยระบบดิจิทัล

การผลิตสื่อการเรียนโดยการเขียน Blogger
เรื่อง 
กระบวนงานผลิตสิ่งพิมพ์ด้วยระบบดิจิทัล
กระบวนงานวิชาเทคโนโลยสีื่อประสมเพื่องานวารสารศาสตร์
รหัสวิชา MCS3251
ผู้สอน อาจารย์สุขเกษม อุยโต
จัดทำโดย นายโสภณวิชญ์ ทองใบ
รหัสนักศึกษา 5754506979

-----------------------------------------------------------------------------------

กระบวนงานผลิตสิ่งพิมพ์ด้วยระบบดิจิทัล

กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์

การผลิตสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น แผ่นพับ หนังสือ ฉลาก กล่อง ฯลฯ โดยผลิตให้ได้ตามรูปแบบและจำนวนที่ต้องการ กระบวนการผลิตสิ่งพิมพ์เริ่มต้นจากการรับต้นฉบับที่เป็นอาร์ตเวิร์ค และสิ้นสุดเป็นชิ้นงานพร้อมส่งมอบให้ลูกค้า โดยมีขั้นตอนดังนี้

 1.กระบวนการก่อนการพิมพ์ (Pre-Press Process)
 2.กระบวนการพิมพ์ (Press/Printing Process)
 3.กระบวนการหลังการพิมพ์ (After Press Process)




กระบวนการก่อนการพิมพ์ (Pre-Press Process)

กระบวนการก่อนการพิมพ์ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่มีการนำเครื่องคอมพิวเตอร์ มาใช้ในการออกแบบและควบคุมกระบวนการทำแม่พิมพ์ ในปัจจุบันต้นฉบับ/อาร์ตเวิร์คที่ถูกส่งเข้ามามักเป็นรูปแบบของไฟล์ดิจิตอล กระบวนการก่อนการพิมพ์ที่กล่าวถึงในที่นี้จะอิงระบบดิจิตอลในการทำงานเป็นหลัก

การแปลงข้อมูลดิจิตอล (Digitization)

     ในกรณีอาร์ตเวิร์คเป็นภาพลายเส้น ภาพถ่าย ภาพวาด ฟิล์มสไลด์ ฟิล์มเนกาทีฟ จำเป็นต้องแปลงภาพเหล่านี้ให้เป็นข้อมูลดิจิตอลซึ่งทำได้โดยใช้เครื่องสแกนเนอร์ (Computer Scanner) และเพื่อคุณภาพที่ดียิ่งขึ้นควรใช้เครื่องสแกนเนอร์ที่มีคุณภาพสูง (High-end Scanner) เมื่อได้เป็นภาพดิจิตอล จึงจัดหน้าในคอมพิวเตอร์โดยใช้ซอฟต์แวร์ เช่น Adobe Indesign, Illustrator, Pagemaker และโปรแกรมอื่นๆ


การเตรียมไฟล์สำหรับงานพิมพ์ดิจิตอลออฟเซ็ต

1. โหมดสีของไฟล์งาน

การพิมพ์ในระบบดิจิตอลออฟเซ็ตนั้นไฟล์งานควรอยู่ในโหมด CMYK Mode คือการผสมสีแบบลบ หรือสีที่เกิดจากหมึกสี เป็นการพิมพ์ระบบออฟเซ็ต (Offset) เมื่อจะต้องนำไฟล์งานนั้นมาทำเป็นหนังสือ แผ่นพับ เป็นต้น ต้องตั้งโหมดสีเป็น CMYK ดังที่เราจะเห็นอยู่เป็นประจำคำว่า “พิมพ์ 4 สีทั้งเล่ม” 4 สี นั้นคือ C(cyan ฟ้า), M(magenta ชมพู), Y(yellow เหลือง), K(black ดำ)


 
             งาน 4 สี                                สีฟ้า(Cyan)                       สีแดง(Magenta)

 
       สีเหลือง(Yellow)            สีดำ(KEY) หรือ (Black)


2. ระยะขอบ (Margin) และระยะตัดตก (Bleed)

ระยะขอบและระยะตัดตก เป็นอีกส่วนสำคัญของการเตรียมงานสำหรับพิมพ์ในระบบดิจิตอลออฟเซ็ต

        ระยะขอบ (Margin) จะอยู่ด้านในขอบชิ้นงานเข้ามา เป็นพื้นที่ปลอดภัยที่จะวางตัวอักษรและลวดลายกราฟฟิคที่มีความสำคัญที่จะไม่ถูกตัดโดยเครื่องตัดกระดาษ

ระยะตัดตก (Bleed) จะอยู่นอกขอบงานออกไป ส่วนนี้จะถูกตัดทิ้ง แต่หากไฟล์มีพื้นหลังเป็นพื้นสีหรือลวดลาย texture ควรจะเทสีลงไปจนถึงสุดระยะตัดตกแม้จะถูกตัดทิ้งไปก็ตาม
ไฟล์ที่จะส่งพิมพ์ในระบบดิจิตอลออฟเซ็ตควรมีระยะขอบทุกด้านอย่างน้อย (บน-ล่าง-ซ้าย-ขวา) 3 มม. และระยะตัดตกทุกด้านอีก 3 มม. ลองดูตัวอย่างภาพด้านล่างประกอบครับ


ระยะขอบ (Margin) และ ระยะตัดตก (Bleed) ตรงส่วนที่เป็นเส้นสีแดง

กำหนดขนาดของงานให้เรียบร้อยก่อนลงมือทำ Artwork  ลูกค้าบางท่านยังไม่เครียร์ในเรื่องของขนาดงาน  นักออกแบบจะต้องคุยให้รู้เรื่องก่อนออกแบบ  เพราะเมื่อออกแบบไปแล้ว แล้วมาแก้ไขทีหลัง  จะทำให้เสียเวลา สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายไปโดยไม่จำเป็น

การกำหนดขนาดงาน  “จะต้องบวกพื้นที่การทำงานออกไปเสมอ“  เพื่อเผื่อตัดตก  ตัดตก คือการออกแบบงานให้เลยยื่นออกนอกเนื้อที่งาน  เพื่อที่จะได้ไม่เกิดขอบขาว เวลาโรงพิมพ์เจียนงานทิ้ง สิ่งนี้จำเป็นมาก ๆ นะครับ และนักออกแบบส่วนใหญ่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ทำงานกับโรงพิมพ์มาก่อนจะไม่รู้  งานที่ไม่ได้เผื่อตัดตก  บางครั้งจะทำให้มีขอบขาว ๆ เกิดขึ้นเวลาพิมพ์งานจริง  โดยปกติแล้วทางโรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี. จะแจ้งลูกค้าก่อนว่างานที่ทำมาไม่ได้เผื่อตัดตกไว้  โรงพิมพ์จะแก้โดยการขยายงานออกไปข้างละ 3 mm.


                       การตั้งค่าขนาดของหน้างานและระยะขอบ (Margin) จะอยู่ด้านในขอบชิ้นงานเข้ามา
ระยะตัดตก (Bleed) จะอยู่นอกขอบงานออกไป


การตั้งค่าไฟล์ด้วย Adobe InDesign

                   โปรแกรม InDesign เป็นโปรแกรมเดียวที่รองรับทั้งการตั้งค่าระยะขอบ (Margin) และระยะตัดตก (Bleed) ได้โดยตรง เนื่องจากเป็นโปรแกรมที่ออกแบบมาใช้ผลิตงานสิ่งพิมพ์โดยเฉพาะ โดยลูกค้าสามารถกำหนดค่าในการสร้างไฟล์ดังนี้ครับ

1.1 เปิดโปรแกรม InDesign ไปที่ File -> New แล้วตั้งค่าดังนี้
Width: 101.6 mm. (4 นิ้ว)
Height: 152.4 mm. (6 นิ้ว)
Margins: ใส่ค่า 3 mm. ทั้งสี่ช่อง
Bleed: ใส่ค่า 3 mm. ทั้งสี่ช่อง


                                    ตัวอย่างแสดงการตั้งค่าหน้ากระดาษใน Programe InDesign

3. ฟอนต์ (Font)

สำหรับลูกค้าที่ส่งไฟล์งานมาเป็นไฟล์ PSD (Photoshop), AI (Illustrator) หรือ INDD (InDesign) หากฟอนต์ที่ลูกค้าใช้ในการออกแบบชิ้นงานไม่ตรงกับฟอนต์ที่มีอยู่กับทางร้าน อาจจะทำให้เกิดปัญหารูปแบบตัวอักษรในชิ้นงานไม่ตรงกับที่ออกแบบมา เพราะฉะนั้นลูกค้าจะต้องทำการแปลงฟอนต์ตัวอักษรหรือข้อความต่าง ๆ ให้อยู่ในรูปของกราฟฟิคก่อน ด้วยการ Convert to shape (Photoshop) หรือ Create Outlines (Illustrator หรือ InDesign) สำหรับลูกค้าที่ส่งไฟล์งานเป็น JPEG, PDF หรือฟอร์แมทอื่น ไม่จำเป็นต้องทำขั้นตอนนี้




ตัวอย่างงานสิ่งพิมพ์ที่ Create Outlines ตัวหนังสือแล้ว



ตัวหนังสือที่ทำการ Create Outlines แล้วจะไม่สามารถแก้ไขได้




ตัวหนังสือที่ Create Outlines แล้วตัวหนังสือจะเป็นเส้น Path


4. การเตรียมไฟล์และการเซฟไฟล์เพื่อให้เหมาะสมกับการพิมพ์

นักออกแบบควรจะใช้โปรแกรมออกแบบให้ตรงตามประเภทของงานก่อนตั้งแต่ต้น  เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียคุณภาพของงาน  การใช้โปรแกรมผิดประเภท นอกจากจะไม่ได้งานตามที่ควรจะเป็นแล้ว  ยังทำให้เกิดความยุ่งยากเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิมพ์






4.1.โปรแกรม Photoshop

                          เหมาะสำหรับงานออกแบบทั่วไป โปสเตอร์ โบรชัวร์ ออกแบบหน้าปกหนังสือ  งาน Ads  เป็นชิ้นๆมีเพียง 1-2 หน้า งานที่เน้นไปที่การทำงานเกี่ยวกับภาพเป็นหลัก  ไม่ว่าจะเป็นภาพถ่ายจากกล้องดิจิตอล  หรือภาพที่ได้มาจาก Photostock   เป็นโปรแกรมตั้งต้นสำหรับจัดการกราฟฟิค  เพื่อนำไปใช้กับโปรแกรมอื่นๆ ไม่เหมาะกับการนำมาออกแบบหนังสือเป็นเล่มโดยตรง ถึงแม้ว่าจะทำได้ก็ตาม



4.2. โปรแกรม Illustrator

             เหมาะสำหรับงานออกแบบทั่วไป  ไม่ว่าจะเป็น โปสเตอร์ โบรชัวร์ หน้าปกหนังสือ กล่องบรรจุภัณฑ์ ต่างๆ การทำงานส่วนใหญ่จะทำใน Illustrator เป็นหลัก  ทางโรงพิมพ์แนะนำให้ตกแต่งภาพให้เสร็จเรียบร้อยใน Photoshop เสร็จแล้วค่อยนำภาพเข้ามาใช้ (Place) ใน Illustrator อีกทีหนึ่ง




4.3. โปรมแกรม InDesign

              เหมาะสำหรับการออกแบบงานหนังสือที่เป็นลักษณะเล่มๆ มีหลายๆ หน้า  ลักษณะการใช้งานจะเป็นในลักษณะ “จัดหน้าหนังสือ” มากกว่า “ออกแบบกราฟฟิค”  ภาพและกราฟฟิคที่ใช้มักจะตกแต่งแล้วเสร็จมาจาก Photoshop/Illustrator แล้วค่อยนำมาวางใน InDesign เพื่อจัดรูปเล่มหนังสืออีกต่อหนึ่ง





วิธีการทำงานด้านการออกแบบ ควรใช้โปรแกรมที่รองรับงานพิมพ์ การส่งงานให้กับลูกค้า ควรส่งเป็นไฟล์ต้นฉบับเช่น PSD, AI, IDD หรือไฟล์ PDF เนื่องจากไฟล์เหล่านี้รองรับเวคเตอร์กราฟฟิค (Photoshop รองรับเฉพาะ Shape  หรือ Path) ที่จะทำให้งานพิมพ์มีความคมชัดสูงที่สุด อย่างไรก็ตามลูกค้าก็สามารถส่งไฟล์ JPEG, TIFF หรือ PNG ได้เช่นกันโดยที่ไฟล์ต้องมีความละเอียดมากกว่า 300 PPI ขึ้นไป

ตัวอย่างใน PHOTOSHOP ความละเอียดและความคมชัดของชิ้นงาน จะขึ้นอยู่กับค่า Resolution ที่ต้องตั้งไว้ที่ 300 PPI ตั้งแต่แรกก่อนเริ่มออกแบบ ควรเช็คโหมดของงานพิมพ์ด้วยว่าเป็น CMYK หรือไม่ ดังตัวอย่างในรูปด้านล่าง




                              การตั้งค่า Resolution 300 PPI ของไฟล์งานใน PHOTOSHOP


การตรวจสอบไฟล์ข้อมูล (Preflight)

เป็นการตรวจสอบรายละเอียดของไฟล์ข้อมูลต่างๆ ก่อนที่จะส่งออกข้อมูลนั้นไปยังเครื่องพิมพ์ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของไฟล์งาน  ความเรียบร้อยของรายละเอียดทุกอย่างในเนื้อหางานพิมพ์  การตั้งค่าต่างๆ ที่ไม่สร้างปัญหาในขั้นตอนต่อไป  ซึ่งป้องกันไม่ให้เกิดความผิดพลาดในการจัดทำข้อมูลงานก่อนพิมพ์ดิจิทัล

         แต่ปัจจุบันการตรวจสอบดังกล่าวจัดทำผ่านโปรแกรมเฉพาะสำหรับการตรวจสอบงานส่งออกข้อมูลงานก่อนพิมพ์ เช่น  โปรแกรมไฟลต์เช็ค (Flight Check) และพรีไฟลต์โปร (PreFlight Pro) เป็นต้น โดยโปรแกรมจะตรวจสอบไฟล์งานและจะเตือนเมื่อพบว่าอาจมีปัญหาต่อไปนี้

1. แบบตัวพิมพ์ถูกต้องหรือไม่
2. ไฟล์ภาพขาดหายไป
3. ขนาดหน้าไม่ถูกต้อง
4. กำหนดสีไม่ถูกต้อง
5. รูปแบบไฟล์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องไม่รองรับการนำไปใช้งาน

ขั้นตอนการเตรียม File และการตรวจสอบ File Artwork

1. ตรวจสอบ File Format ต่างๆ ที่ลูกค้าให้มาดังนี้

-ส่งเป็น Native File คือไฟล์ที่ทำจากโปรแกรม Adobe PageMaker, Adobe Indesign, Adobe illustrator
โดยตรง ซึ่งส่งวิธีนี้ จะต้องส่งไฟล์รูปภาพ และ Font ที่ใช้กับไฟล์งานกำกับมาด้วยทุกครั้ง
-ส่งเป็น Postscript ไฟล์ หากส่งไฟล์ลักษณะนี้ต้องแน่ใจว่าข้อมูล Postscript ที่สร้างขึ้นสมบูรณ์จริงๆ
เพราะไม่สามารถแก้ไขได้(Postscript File ต้อง Refine จาก Adobe Distiller ตามเงื่อนไขงานพิมพ์)
-ส่งเป็น PDF ไฟล์ แต่ต้องระวังวิธีในการสร้าง PDF ว่าเป็น PDF ที่พร้อมเพื่องานพิมพ์ PDF for Press หรือไม่

2. ตรวจสอบ File Artwork และ File PDF ต่างๆ ที่ลูกค้าให้มาดังนี้
File Artwork
-ต้องเช็ค ขนาดงาน และการสร้างงานในหน้าควรมีพื้นที่เผื่อเจียนรอบด้านอย่างน้อย 3 มม.
-เช็คความละเอียดของภาพ (Resolution ควรอยู่ระหว่าง 200-300 dpi) เช็คจำนวนสีที่ใช้พิมพ์, เช็คภาพ Link
-เช็ค Font ที่แนบมา และเช็ค Profile ที่ฝังมา, Transparency ต้องเป็น 100
-ตรวจดำ Overprint ไฟล์งานที่มีพื้นสีดำ 100 เปอร์เซ็นต์ ควรรองฟ้าประมาณ 40-60 เปอร์เซ็นต์
-ควรเช็ค Artwork กับใบ Print ที่ลูกค้าให้มา
-ต้อง Soft Proof ทุกครั้ง



    ไฟล์ต้นฉบับ ขั้นตอนการแยกสีสิ่งพิมพ์


ขั้นตอนการตรวจสอบ File PDF
ไฟล์ PDF

-ตรวจเช็ค PDF ว่าเป็น PDF ที่พร้อมเพื่องานพิมพ์ PDF for Press หรือไม่
-ตรวจเช็ค ขนาดงาน เช็คพื้นที่เผื่อเจียนรอบด้านอย่างน้อย 3 มม.
-เช็คความละเอียดของภาพ, เช็คจำนวนสีที่ใช้พิมพ์
-เช็ค Font ต่างๆ ที่ Embed และเช็ค Profile ที่ฝังมา
-ตรวจดำ Overprint และดำรองฟ้า
-ตรวจสอบ Artwork โดยรวมให้ถูกต้อง เช่น เลขหน้า, AD โฆษณา
การตรวจสอบ AD โฆษณาลูกค้า
1. ตรวจสอบ AD โฆษณา ให้ตรงกับหน้า ดัมมี่ Sheet ทุกครั้ง
2. เช็ครูปแบบของ AD โฆษณา จาก File เทียบกับตัวอย่าง AD โฆษณา ต้องตรงกัน
3. รูปแบบของ AD โฆษณา ที่มีการเปลี่ยนแปลง หรือระบุเลขหน้าไม่ตรงกับดัมมี่ Sheet ควรแจ้งประสานงานก่อนทุกครั้ง


           เมื่อมีทุกอย่างครบหมดแล้ว ก็มาถึงขั้นตอนการเช็คไฟล์ ว่าขนาดของงานถูกต้องหรือเปล่า อย่างเช่น ไฟล์งานที่ทำเป็นไฟล์ CMYK หรือเปล่า และตรวจสอบเรื่องของ Size ของงาน ตัวอย่างเช่น ขนาดงานที่ ความกว้าง 8.25 cm. สูง 11.5 cm.และก็ต้องตรวจสอบความถูกต้องของ Files งานด้วย และเช็ค Graphic ว่าความละของ Graphic Resolution ถึง 300 PPI หรือเปล่า เช็ค Overprint ของสีดำด้วยว่า ถูกต้องหรือยัง หมายถึง เวลาที่เราพิมพ์งาน สีดำจะต้องไม่ไปอยู่ที่ Channels อื่น ซึ่งจะมีผลกับการแก้สี ซึ่งจะทำให้ประหยัดงบประมาณได้มาก ในการเสีบเพลทแม่พิมพ์เวลาที่ต้องการแก้สีดำสีเดียว



                                                      ขนาดของงานถูกต้องหรือเปล่า
                                                    อย่างเช่น ถ้าต้องการขนาดงานที่
                                                      ความกว้าง 8.25 cm. สูง 11.5 cm.



                                                         เช็ค Overprint ของสีดำ 100%



เช็ค Graphic ว่าความละของ Graphic
Resolution ถึง 300 PPI


                 ภาพแสดงการ Overprint ของสีดำ ใน Channels ของสี จากรูปจะเห็นว่าสีดำจะไม่ปรากฏบน Channels อื่นยกเว้น Channels ดำอย่างเดียว



                  หลังจากที่ได้เช็คไฟล์ และ Graphic แล้วสิ่งที่ลืมไม่ได้เลยคือรูปที่ใช้ในงานสิ่งพิมพ์ ว่าขนาดของรูปมีควาละเอียดหรือ Resolution ของรูปว่าเป็น 300 การปรับค่าสีของรูปที่ใช้งานว่ามีการฝังโปรไฟล์ค่าสีลงไปในรูปหรือยัง และเช็คด้วยว่า รูปที่ใช้งานเป็น CMYK หรือยัง




เช็ค Resolution ของรูปว่าเป็น 300 PPI


          เมื่อเช็คทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ การนำ Graphic และรูป ที่เราได้ตรวจสอบความถูกต้องนำมาประกอบหน้างานใน Files ที่เราเตรียมไว้นำ Graphic และรูปวางให้ตรงกับรูปแบบ Laser ขาวดำ หรือ Print  ต้นฉบับที่ลูกค้าต้องการ เพื่อความถูกต้องของการทำงาน เช็คตัวหนังสือหรือ Font ว่าตรงกับรูปแบบ Laser ทีี่ลูกค้าต้องการหรือเปล่าหลังจากนั้นก็ Print งานที่ทำเพื่อที่จะส่ง Laser Print ให้กับทางแผนกพิสูจน์อักษร ตรวจสอบความถูกต้องต่อไป

การทำปรู๊ฟดิจิตอล (Digital Proofing) 

หลังจากที่ QC หรือแผนกพิสูจน์อักษรตรวจสอบความถูกต้องของงานเรียบร้อยแล้วถ้ายังผิดก็ต้องนำกลับมาแก้ไขโดยเป็นหน้าที่ของฝ่ายช่างแยกสีหรือแผนก MAC แก้ไขให้ถูกต้อง และถ้า QC หรือแผนกพิสูจน์อักษรตรวจสอบความถูกต้องแล้ว ก็จะทำการส่ง ส่ง Laser Print ให้กับทางลูกค้าตรวจสอบความถูกต้องของงานอีกที ถ้าทางลูกค้าไม่มีแก้ไขอะไรแล้วทางลูกค้าก็จะส่งงานกลับมาให้ทางโรงพิมพ์  ทำปรู๊ฟดิจิตอล (Digital Proofing) ก่อนที่จะทำเป็นแม่พิมพ์จริง มักมีการทำตัวอย่างงานพิมพ์ขึ้นเพื่อตรวจดู รายละเอียดต่างๆ  ตลอดจนสีสันว่าถูกต้องหรือไม่ การทำตัวอย่างหรือปรู๊ฟในขั้นนี้จะเป็นการ
พิมพ์จากเครื่องพิมพ์คอมพิวเตอร์หรือพริ้นเตอร์ โดยทั่วไปจะใช้พริ้นเตอร์ระบบอิงค์เจ็ท (Inkjet Printer) ขนาดใหญ่ และสามารถพิมพ์ตัวอย่างงานให้มีขนาดกับการจัดวางหน้าได้ใกล้เคียงกับแม่ พิมพ์จริง การทำปรู๊ฟนี้จึงเรียกการทำปรู๊ฟดิจิตอล(Digital Proofing)  การทำปรู๊ฟดิจิตอลจะประหยัดกว่าการทำแม่พิมพ์จริงแล้วทำปรู๊ฟจากแม่พิมพ์ หากมีการแก้ไขก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก








DIGITAL PROOFING ที่ พิมพ์ออกมาให้ทางลูกค้าตรวจ ความถูกต้องของสี และตัวอักษร ขนาดงาน และรายละเอียดทุกอย่าง ก่อนที่จะเข้าสู่ขบวนการพิมพ์จริง






DIGITAL PROOFING ที่ พิมพ์ออกมาให้ทางลูกค้าตรวจ ความถูกต้องของสี และตัวอักษร ขนาดงาน และรายละเอียดทุกอย่าง ก่อนที่จะเข้าสู่ขบวนการพิมพ์จริง


ขั้นตอนการทำเพลทแม่พิมพ์ซีทีพี (CTP)

คำว่า "เพลท" แล้วศัพท์ที่วงการสิ่งพิมพ์เรียกกันนั้น หน้าที่หลักของเพลทไม่มีอะไรซับซ้อน เพราะมันก็คือแม่พิมพ์ธรรมดานี่เอง เพลททำมาจากแผ่นโลหะบางๆ เคลือบด้วยสารเคมี
ขนาดของเพลท (แม่พิมพ์) มีหลายขนาดอยู่ที่ว่าโรงพิมพ์จะใช้เครื่องตัวไหนพิมพ์ หลัก ๆ แล้วขนาดเพลทก็มีอยู่ ตามขนาดของเครื่องพิมพ์ อย่างเช่น เครื่องตัด 2 เครื่องตัด 4, ตัด 3, ตัด 5 เป็นต้น
เพลทตัด 2 ขนาดอยู่ที่ 700 x 1030 mm ตัดสี่ 550 x 650 mm แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขนาดจะเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับโรงพิมพ์แต่และแห่ง
เพลท 1 แผ่นคือแม่พิมพ์ 1 สี หากงานพิมพ์มีจำนวน หลายสี เพลทก็ต้องมีตาม จำนวนสีที่พิมพ์ อย่างเช่น พิมพ์งาน 1 สี (ดำ) ก็ต้องออก เพลท 1 แผ่น เพื่อส่งให้โรงพิมพ์ ถ้าพิมพ์งาน 4 สี ก็ต้องออกเพลท 4 แผ่น

ระบบเพลท CTP (computer to plate) ระบบคอมพิวเตอร์ทูเพลทนั้นทำให้ การทำงานมีความรวดเร็วเพิ่มมากขึ้น เพิ่มอัตราการผลิต และมีระบบการตรวจ สอบที่มีประสิทธิภาพ







ขั้นตอนทำงานของเครื่องยิงเพลท CTP (Computer to plate)



ขั้นตอนการตรวจสอบงาน Lay out ที่หน้าจอ

1.เช็คซองงาน เล่มที่, ฉบับที่ ตัวอย่าง AD และตัวอย่างงานในซอง
2.ตรวจสอบข้ออมูลของซองงาน Size งานสำเร็จ, จำนวนหน้า + ยก
รูปแบบการ Lay (ใบปลิว, เย็บลวด, ไสกาว), จำนวนสีที่ใช้พิมพ์
3.เช็ค Size เพลท, กระดาษพิมพ์, ไม่ให้ตกกระดาษ
4.ตรวจสอบ เลขหน้า, มาร์ค, ระยะเผื่อเจียน, กริ๊ปเปอร์

5.ก่อนการยิง Digital Proof และ Plate


                                                                  ใบ Lay out งานพิมพ์








ขั้นตอนการเช็ค File งานก่อนยิง Plate



ขั้นตอนการตรวจสอบงาน Lay out ที่หน้าจอ


ขั้นตอนการ Q.C เพลทก่อนการยิง Plate

1. ตรวจสอบข้อมูลของซองงาน เช่น ชื่องาน องศาสกรีน Size Plate
2. เช็คองศาสกรีน Size เพลทที่ลง และจำนวนสีของสิ่งพิมพ์
3. ตรวจสอบหน้าแก้ไขจาก Proof
4. ตรวจตัวดำ Overprint, Mark, เลขหน้า, รูปแบบงานตรงกับ Digital Proof หรือไม่

5. เขียน ID, Size เพลทที่ลง ส่ง File ต่อยังแผนกเพลท 




                                              ขั้นตอนการ Q.C เพลท ก่อนการยิง Plate



                                                       ขั้นตอนการปล่อยเพลท Plate


ขั้นตอนการปล่อย Plate (Shooter)

1. ตรวจสอบชื่องานให้ตรงกับซองงาน
2. เช็ค ID จาก Proof, องศาสกรีนและ Size Plate
ที่จะยิง, จำนวนสีของงานพิมพ์
3. ดูงานโดยรวมตรงกับ Proof, สั่งทำเพลท

4. ลงบันทึกข้อมูลการใช้เพลท


                                              MONITOR ของหน้าจอการปล่อยเพลท





กระบวนการพิมพ์ (Press/Printing Process)


เมื่อได้แม่พิมพ์ที่สมบูรณ์ ก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ กระบวนการพิมพ์มีความสำคัญมาก ชิ้นงานจะออกมาดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับการพิมพ์เป็นหลัก และพบว่าปัญหาส่วนใหญ่ที่เกิดระหว่างลูกค้ากับโรงพิมพ์มักมาจากการพิมพ์ เช่น สีไม่เหมือน พิมพ์เหลื่อม ข้อความไม่ชัด ฯลฯ ดังนั้นการควบคุมการพิมพ์จึงเป็นเรื่องสำคัญ




เพลทแม่พิมพ์ที่ใช้ในการพิมพ์




กระดาษแท่นพิมพ์ WAVE




เครื่องพิมพ์ขณะพิมพ์งาน



        การเตรียมพิมพ์ (Print Preparation) ก่อนเข้าสู่กระบวนการพิมพ์ต้องเตรียมวัสดุใช้พิมพ์ให้พร้อมโดยคำนวณจากจำนวน ที่ต้องการพิมพ์ ทำการตัดเจียนขนาดวัสดุใช้พิมพ์สำหรับเข้าเครื่องพิมพ์ให้ถูกต้อง เตรียมหมึกที่ใช้พิมพ์ ขณะเดียวกันก็ต้องตรวจดูแม่พิมพ์ว่าสมบูรณ์หรือไม่และตรวจสอบปรู๊ฟเพื่อ ป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น



ห้อง Control การสั่งพิมพ์


วิทยากรอธิบายการทำงาน
ของแท่นพิมพ์ WAVE


พนักงานรวบรวมสิ่งพิมพ์ที่พิมพ์เสร็จแล้ว


การพิมพ์ (Printing)

ปัจจุบันการพิมพ์มีหลายรูปแบบ ถ้าลูกค้าต้องการงานพิมพ์ที่เร่งด่วนแPละมีจำนวนน้ย และประหยัดค่าใช้จ่ายลูกค้าส่วนมากจะใช้บริการงาน Print on Demand คือพิมพ์ตามจำนวนที่ต้องการใช้จริง ไม่มีการเก็บสต็อกจำนวนมาก มีข้อดีหลายประการได้แก่ลดค่าใช้จ่ายในการเก็บสต็อก ได้แก่ พื้นที่จัดเก็บ การบริหารสต็อก และความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับสิ่งพิมพ์ที่เก็บไว้นานคำนวณต้นทุนที่แท้จริงได้ เช่นเอกสารประกอบการอบรม ประชุมวิชาการ หรือ หนังสืออนุสรณ์ ฯลฯ การพิมพ์ตามจำนวนที่ใช้จริง จึงจะคำนวณค่าใช้จ่ายได้ถูกต้องสามารถพิมพ์งานเพื่อใช้เฉพาะในวาระต่างๆ เช่น การทำโปรโมชั่นสินค้าใน event หนึ่งๆ ต้องการงานพิมพ์จำนวนจำกัดที่จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในงานนี้เท่านั้นเหมาะสำหรับการทดลองตลาดสินค้าออกใหม่ เช่น หนังสือ ปกเทป/ CD/VCD แคตาล็อก คู่มือ หรือฉลากสินค้าสามารถพิมพ์จำนวนน้อยเพื่อทดลองตลาดก่อนการตัดสินใจพิมพ์งานจำนวนมาก Update ข้อมูลได้เมื่อต้องการ เช่น ราคาในเมนูอาหาร คู่มือผลิตภัณฑ์ที่ปรับปรุงอยู่เสมอ ตำราวิชาการ ฯลฯ ควรพิมพ์เพียงจำนวนน้อยเพื่อใช้ในช่วงเวลาอันสั้นเท่านั้นสร้างความหลากหลายให้กับสื่อโฆษณา เช่น สินค้าชนิดหนึ่งอาจมีแคตาล็อกแตกต่างกันหลายแบบสำหรับกลุ่มเป้าหมายที่ต่างกันดิจิตัลออฟเซ็ท ทำให้ท่านสามารถพิมพ์งานคุณภาพสูงสำหรับใช้งานในลักษณะดังกล่าวได้ ด้วยค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่าการพิมพ์ออฟเซ็ททั่วไป




เครื่องพิมพ์ INKJET สำหรับงานพิมพ์ Print on Demand
หรืองานที่ต้องการความรวดเร็ว และใช้สำหรับงานพิมพ์ที่จำนวนน้อย




ตัวอย่างการพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์ Inkjet


กระบวนการหลังการพิมพ์ (After Press Process)

งานพิมพ์ที่พิมพ์เสร็จสิ้นแล้ว โดยทั่วไปยังไม่สมบูรณ์เป็นชิ้นงานตามที่ต้องการ จึงต้องผ่านกระบวนการต่อไปนี้

การตกแต่งผิวชิ้นงาน (Surface Decoration) 

งานพิมพ์บางประเภทต้องการการเคลือบผิวเพื่อจุดประสงค์ต่างๆ กัน เช่น ป้องกันการขีดข่วน ป้องกันความชื้น ต้องการความสวยงาม เป็นต้น การตกแต่งผิวมีดังนี้

1. การเคลือบผิว (Coating)

เช่น การเคลือบวาร์นิช วาร์นิชด้าน วาร์นิชแบบใช้น้ำเป็นตัวทำละลาย (Water based varnish) การเคลือบยูวี ยูวีด้านการเคลือบพีวีซีเงา พีวีซีด้าน การเคลือบเงาเฉพาะจุด (Spot UV) การเคลือบวาร์นิชจะให้ความเงาน้อยที่สุดในขณะที่การเคลือบพีวีซีเงาจะให้ ความเงามากที่สุด


     
                                        สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้สี SPOT UV และเคลือบเงาหนังสือ


2. การรีด/ปั๊มแผ่นฟอยล์ (Hot Stamping)

คือ การปั๊มด้วยความร้อนให้แผ่นฟอยล์ไปติดบนชิ้นงานเป็นรูปตามแบบปั๊ม มีทั้งการปั๊มฟอยล์เงิน/ทอง ฟอยล์สีต่างๆ ฟอยล์ลวดลายต่างๆ ฟอยล์ฮาโลแกรม เป็นต้น

สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้รีด ปั๊มแผ่นฟอยล์ฮาโลแกรม



สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้รีด ปั๊มแผ่นฟอยล์ฮาโลแกรม



สื่อสิ่งพิมพ์ที่ใช้รีด ปั๊มแผ่นฟอยล์ฮาโลแกรม


3. การปั๊มนูน/ปั๊มลึก (Embossing/Debossing)

คือการปั๊มชิ้นงานให้นูนขึ้นหรือลึก ลงจากผิวเป็นรูปร่างตามแบบปั๊ม เช่น การปั๊มนูนตัวอักษร สัญลักษณ์


การปั๊มนูนตัวอักษร สัญลักษณ์




การปั๊มนูนตัวอักษร สัญลักษณ์


การขึ้นรูป (Forming) 

ได้แก่ การตัดเจียน เช่น งานทำฉลาก การขึ้นเส้นสำหรับพับ การปั๊มเป็นรูปทรง การไดคัท เช่น งานทำกล่อง งานเจาะหน้าต่างเป็นรูปต่างๆ การพับ การม้วน เช่น งานทำกระป๋อง การทากาวหรือทำให้ติดกัน เช่น งานทำกล่อง งานทำซอง การหุ้มกระดาษแข็ง เช่น งานทำปกแข็ง งานทำฐานปฏิทิน

การทำรูปเล่ม (Book Making)

เป็นขั้นตอนสำหรับทำงานประเภทสมุด หนังสือ ปฏิทิน ฯลฯ มีขั้นตอนคือ
- การตัดแบ่ง เพื่อแบ่งงานพิมพ์ที่ซ้ำกันในแผ่นเดียวกัน
- การพับ เพื่อพับแผ่นพิมพ์เป็นหน้ายก
- การเก็บเล่ม เพื่อเก็บรวมแผ่นพิมพ์ที่พับแล้ว/หน้ายกมาเรียงให้ครบเล่มหนังสือ
- การเข้าเล่ม เพื่อทำให้หนังสือยึดติดกันเป็นเล่ม มีวิธีต่างๆ คือ การเย็บด้วยลวด เย็บมุงหลังคา การไสสันทากาว
- การเย็บกี่ทากาว การเย็บกี่หุ้มปกแข็ง การเจาะรูร้อยห่วง เมื่อผ่านการยึดเล่มติดกัน ก็นำชิ้นงานมาตัดเจียนขอบสามด้านให้เรียบเสมอกันและได้ขนาดที่ต้องการ (ยกเว้นงานที่เย็บกี่หุ้มปกแข็งและงานที่เจาะรูร้อยห่วงจะผ่านการตัดเจียน ก่อนเข้าเล่ม)





การบรรจุหีบห่อ (Packing) และจัดส่ง (Delivery)

เมื่อได้ชิ้นงานสำเร็จตามที่ต้องการ ทำการตรวจสอบชิ้นงาน แล้วบรรจุหีบห่อพร้อมส่งไปยังจุดหมายปลายทางต่อไป

การทำกล่องบรรจุภัณฑ์



สรุปกระบวนงานผลิตสิ่งพิมพ์ด้วยระบบดิจิทัล


จากการศึกษางานกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยระบบดิจิตัล และการที่ได้ไปดูงานกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์พิมพ์ที่ บริษัท สยามพริ๊นท์ จำกัด ทำให้เราได้เรียนรู้กระบวนการทำงาน และขั้นตอนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ในปัจจุบัน ว่าขั้นตอนทุกกระบวนการมีขั้นตอนการทำงานเช่นไร ซึ่งเป็นประสบการณ์ที่ดี ในการที่เราจะนำเอาสิ่งที่เราได้เรียนรู้มาพัฒนาและนำไปเป็นประสบการณ์ ในการทำงานด้านการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ต่อไป ในการเรียนรู้กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยระบบดิจิตัลนี้ ทำให้เรารู้ขั้นตอนกระบานการก่อนพิมพ์ ขบวนการพิมพ์ และขบวนการหลังพิมพ์ ซึ่งแต่ละขั้นตอนนั้น มีความสำคัญเป็นอย่างมาก ในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ซึ่งในปัจจุบันนี้ได้มีเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ ไม่ว่าจะเป็น เทคโนโลยี ทั้งทางด้าน Hardware และ Software เช่น โปรแกรมการออกแบบและจัดหน้าสิ่งพิมพ์ ทั้ง Vector และ Raster และได้เรียนรู้กระบวนการแยกสีสิ่งพิมพ์ ว่าสีในกระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ที่ใช้ในระบบการพิมพ์คือ สี CMYK และสีพิเศษที่นอกเหนือจากสีที่สิ่งพิมพ์ทั่วไปคือสี SPOT เช่นสีทอง สีสะท้อนแสง สีเงิน และสีพิเศษอื่นๆ อีกมากมาย และยังมีเทคโนโลยีด้านการผลิตเพลทแม่พิมพ์ ว่ามีความสะดวกและรวดเร็วมากในการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์เช่นไร ยุคก่อนนี้ยังคงใช้ระบบฟิล์ม ที่มีการแยกสีที่ยากและลำบากมาก ซึ่งกระบวนการถ่ายฟิล์มนี้ มีขั้นตอนที่ยุ่งยากและซับซ้อยนกว่าการทำเพลทแม่พิมพ์และมีราคาที่สูงกว่าการทำเพลทแม่พิมพ์อย่างมาก ซึ่งปัจจุบันมีการนำเทคโนโลยี CTP (Computer to Plate) หรือการพิมพ์ไฟล์ที่แยกสีสมบูรณ์แล้วจากคอมพิวเตอร์ ลงในเพลทแม่พิมพ์โดยผ่านเครื่อง CTP ได้เลย จะทำให้ลดขั้นตอนการการผลิตแม่พิมพ์ไปได้มาก สามารถนำเพลทแม่พิมพ์ที่ยิงผ่านเคื่อง CTP ไปเข้าเครื่องพิมพ์ได้เลย และเราก็ได้เรียนรู้ว่าเทคโนโลยีด้านการพิมพ์ที่เกี่ยวกับเครื่องพิมพ์ในปัจจุบันนี้มีความทันสมัยเป็นอย่างมาก โดยเรามีเครื่องพิมพ์ที่เราใช้แท่น WAVE หรือเครื่องพิมพ์ความเร็วสูง ที่สามารถผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ ทันต่อความต้องการของลูกค้าอย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก และในกระบวนการสุดท้ายของการพิมพ์คือขบวนการหลังการพิมพ์ว่ามีเทคโนโลยีการเข้าเล่ม การเคลือบผิวสิ่งพิมพ์ การปั๊มนูนสิ่งพิมพ์ และในทุกกระบวนการหลังการพิมพ์ มีการผลิตอย่างไรบ้าง ซึ่งเราสามารถนำสิ่งที่เราได้ไปศึกษาและเรียนรู้มา เราสามารถนำมาเป็นประสบการณ์ในการทำงานของเราได้เป็นอย่างดี


2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากเลยคะ
    พอดีเพิ่งมาทำงานบริษัทสิ่งพิมพ์
    ได้ความรู้เพิ่มมากขึ้นเยอะเลยคะ

    ตอบลบ
  2. ให้ความรู้ดีมากเลยค่ะ

    ตอบลบ